การอภิเษกสมรส ของ เอลฟ์จิฟู มเหสีของเอ็ดวี

ณ วันที่ไม่รู้วันที่แน่นอนราวๆช่วงราชาภิเษก พระเจ้าเอ็ดวิกหนุ่มอภิเษกสมรสกับเอลฟ์จิฟู การอภิเษกสมรสกลายเป็นหนึ่งในการสมรสหลวงที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในอังกฤษศตวรรษที่ 10 พระอนุชาของเอ็ดวิก เอ็ดการ์ คือว่าที่รัชทายาท แต่โอรสตามกฎหมายที่ประสูติจากการอภิเษกสมรสครั้งนี้จะลดโอกาสที่จะได้เป็นกษัตริย์ของเอ็ดการ์ โดยเฉพาะหากพระบิดาและพระมารดาเป็นเชื้อพระวงศ์ ด้วยการถูกเลี้ยงดูโดยเอลฟ์วินน์ ภริยาของเอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่ง ร่วมกับบุตรชายของนาง เอเธลวิน เอ็ดการ์ได้รับการสนับสนุนจากเอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่ง (เสียชีวิตปีค.ศ.957) และบุตรชายที่มีฐานอำนาจเหนียวแน่นในเมอร์เซียและอีสต์แองเกลีย และเป็นผู้ที่ไม่มีทีท่าว่าจะเสียอำนาจและอิทธิพลให้กับพระญาติและพระสหายของเอลฟ์จิฟู หากข้อสันนิษฐานที่ว่าเอลฟ์จิฟูเป็นเชื้อพระวงศ์ของเมอร์เซียถูกต้อง อาจเป็นไปได้ว่าการอภิเษกสมรสจะมอบข้อได้เปรียบทางการเมืองที่จะทำให้เวสเซ็กซ์มีอำนาจควบคุมเหนือเมอร์เซียแก่เอ็ดวิก

พระมารดาของเอลฟ์จิฟู เอเธลจิฟูดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้พระนางได้ลุกขึ้นมาโดดเด่นเคียงข้างกษัตริย์ ทั้งสองพระองค์ต่างเป็นพยานในกฎบัติที่บันทึกการแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างบิชอปบริทเฮล์มกับเอเธลวาลด์ที่ตอนนั้นเป็นอธิการอารามแห่งแอบิงเด็น และพระนามของทั้งสองพระองค์ปรากฏในฐานะผู้อุปถัมภ์คนสำคัญใน Liber Vitae ของนิวมินสเตอร์ วินเชสเตอร์ ช่วงต้นศตวรรษที่ 11 ในพินัยกรรม เอลฟ์จิฟูขอให้เอเธลวาลด์ ผู้อุปถัมภ์คนหนึ่งของพระนาง ช่วยพระนางไกล่เกลี่ยกับพระมารดา

มีความเป็นไปได้ว่าทั้งสองพระนางคือสตรีสองนางที่ถูกพรรณนาไว้ว่าเป็นคู่ขาของเอ็ดวิกในชีวประวัติของดันสตานโดยนักเขียน "บี" และของนักบุญออสวาลด์โดยเบิร์ทเฟิร์ธแห่งแรมซีย์ ทั้งสองฉบับลงวันที่ว่ามาจากราวค.ศ.1000 ชีวประวัติของดันสตานกล่าวหาว่าในงานเลี้ยงต่อจากการราชาภิเษกที่เป็นพิธีการที่ดิงสตัน (เซอร์รีย์) เอ็ดวิกลุกจากโต๊ะและแอบหนีเข้าห้องบรรทมเพื่อหมกมุ่นในโลกีย์กับสตรีสองนาง สตรีชั้นสูงที่ไร้ยางอาย พวกนางถูกพูดถึงว่าเกาะติดพระองค์ "เพื่อหาทางให้ตัวเองหรือบุตรสาวคนอื่นของตัวเองได้อภิเษกสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับพระองค์" ด้วยความตกตะลึงกับการปลีกตัวที่ไม่เหมาะสมของเอ็ดวิก เหล่าขุนนางได้ส่งดันสตานและบิชอปไซน์ซิกมาใช้กำลังลากตัวกษัตริย์กลับไปที่งานเลี้ยง จากการกระทำครั้งนี้ ดันสตานได้กลายเป็นศัตรูของกษัตริย์ที่ได้ขับไล่เขาออกจากประเทศตามคำยุแยงของของเอลฟ์จิฟู ชีวประวัติของนักบุญออสวาลด์ของเบิร์ทเฟิร์ธได้เล่าว่ากษัตริย์ทรงอภิเษกสมรสแล้ว แต่ยังแอบหนีไปกับคนที่ต่ำศักดิ์กว่ามเหสีของพระองค์ อาร์ชบิชอปโอดาได้จับตัวสนมลับคนใหม่ของกษัตริย์ที่บ้านของนาง บีบนางให้ออกจากประเทศ และจัดการพฤติกรรมของกษัตริย์ให้เข้าที่เข้าทาง

เรื่องราวเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นหลังจากเกิดเรื่อง 40 ปี ดูเหมือนจะเป็นการใส่ร้ายป้ายสีเพื่อสร้างความฉาวโฉ่ให้แก่การสมรสของพระองค์ ในปีค.ศ.958 อาร์ชบิชอปโอดาแห่งแคนเทอร์บรี ผู้สนับสนุนของดันสตาน ประกาศให้การอภิเษกสมรสของเอ็ดวิกและเอลฟ์จิฟูเป็นโมฆะด้วยข้อหาที่ว่าเป็นการผิดประเวณีของญาติที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเกินไป อาจด้วยเหตุผลทางการเมืองมากกว่าทางศาสนาหรือทางกฎหมาย เพื่อสถานะของเอ็ดการ์ที่ได้รับการสนับสนุนเป็นรัชทายาทแห่งบัลลังก์ เป็นไปได้สูงว่าโอดาทำตามผู้ที่เห็นอกเห็นใจเอ็ดการ์ เหล่าบุตรชายของเอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่งและพันธมิตร ดันสตาน

ในปีค.ศ.957 เอ็ดการ์ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์แห่งเมอร์เซีย ซึ่งถูกบันทึกไว้ว่าเป็นผลมาจากการปฏิวัติต่อต้านเอ็ดวิกทางตอนเหนือ พระองค์สูญเสียอำนาจทางตอนเหนือของเธมส์ (เมอร์เซียและนอร์ธัมเบรีย) และเอ็ดการ์ได้รับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์เหนือดินแดนส่วนนั้นของอังฤษ ความอ่อนแอในตำแหน่งทางการเมืองของเอ็ดวิกได้รับการยืนยันโดยบิชอปเอเธลวาลด์ที่ตำหนิว่าเอ็ดวิก "มีความโง่เขลาแบบเด็กน้อยที่แยกอาณาจักรของพระองค์ออกจากกันและทำลายความเป็นหนึ่งเดียว"

ในขณะที่ดันสตานและอาร์ชบิชอปโอดาต่อต้านการอภิเษกสมรส นักปฏิรูปนิกายเบเนดิกต์อีคนหนึ่ง เอเธลวาลด์ อธิการอารามแห่งแอบิงเด็นที่ต่อมาได้เป็นบิชอปแห่งวินเชสเตอร์ ดูเหมือนจะเอนเอียงไปทางสนับสนุนเอลฟ์จิฟู หนึ่งในกฎบัตรสองสามฉบับที่เอลฟ์จิฟูเป็นพยานเป็นเอกสารที่ออกโดยแอบิงเด็นที่ยืนยันการแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างเอเธลวาลด์กับบริทเฮล์ม ในการลงชื่อช่วงท้าย พระนางถูกระบุว่าเป็นมเหสีของกษัตริย์